วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ลมใกล้พื้นดิน โปรไฟล์ของความเร็วลม และการส่งผ่านในอากาศ


ลมเป็นปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่มีความสำคัญต่อการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตพืช ลมเป็นตัวช่วยในการส่งผ่านก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการสำคัญของพืช นอกจากนี้ยังเป็นตัวระบายความร้อนจากพืชอีกด้วย ลมยังมีส่วนสำคัญในการแพร่กระจายเกสร สปอร์ และเมล็ด ของพืช สปอร์ของเชื้อราที่เป็นศัตรูพืชก็แพร่กระจายโดยลม ลมที่มีกำลังแรงเกินไปอาจเป็นอัตรายต่อพืช ทำให้ ใบร่วง กิ่งก้านหักเสียหาย ตลอดจนกัดกร่อนหน้าดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตแห้งแล้ง ลมพายุเป็นภัยธรรมชาติสำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่พื้นที่การเกษตรทั่วโลก

ทุกคนควรทำ Assignment 5 แต่ไม่ต้องส่ง เก็บไว้เป็นข้อมูลในการสอบ

หมายเหตุ การสอบกลางภาคในวันที่ 7 มกราคม 2554 อนุญาติให้นำหนังสือเรียนหรือเอกสารประกอบการสอน ตลอดจน assignment มาดูในห้องสอบได้ เริ่มสอบ 13.00 น.ตรง ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง ขอให้นิสิตมาตรงเวลาด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อุณหภูมิ ความชื้น และ เสถียรภาพของบรรยากาศ

อุณหภูมิ และความชื้นในบรรยากาศเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดกระบวนการทางอุตุนิยมวิทยาต่างๆ ในบรรยากาศ เช่น เมฆ ฝน ลม พายุ ฯลฯ ทั้งอุณหภมิและความชื้นเป็นสิ่งกาำหนดสภาพของบรรยากาศว่ามีความมั่นคงหรือมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสถียรภาพ (stability) ของอากาศเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเข้าใจเพราะเป็นสิ่งที่บอกถึงความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และใช้เป็นส่วนประกอบในการพยากรณ์อากาศ นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อกระบวนการถ่ายเทหรือส่งผ่านสิ่งต่างๆ ในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซ ฝุ่นละออง รวมทั้งสปอร์และเกสรต่างๆ

ในบทนี้มีแบบฝึกหัดให้ทำโดยดาวน์โหลดเอกสารใน Assignment 4 และทำตามคำสั่ง (ไม่ต้องส่ง) เก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับสอบ

สัปดาห์หน้า (10/12/53) งดเรียนเนื่องจากวันรัฐธรรมนูญ

หมายเหตุ จะสอบกลางภาคในวันที่ 7 มกราคม 2554 ดูตารางเรียนในประมวลรายวิชา (แก้ไขแล้ว)

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รังสีจากดวงอาทิตย์

สัปดาห์นี้เราจะศึกษาเรื่องรังสีจากด้วงอาทิตย์ กฎเกี่ยวกับการแผ่รังสี ส่วนประกอบของรังสีจากดวงอาทิตย์ ปริมาณพลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับ สมดุลของรังสี ความสำคัญของรังสีจากดวงอาทิตย์ต่อโลกและสิ่งมีชีวิต รังสีอาทิตย์ในฐานะพลังงานทดแทน ฯลฯ

เปลี่ยนแปลง: Assignment 1 ให้ทำเป็นรายงานใน MSWord ส่งให้อาจารย์ทางอีเมล์ ไม่ต้องนำเสนอเป็น PowerPoint ส่งก่อนสอบกลางภาค

Assignment 2 ไม่ต้องส่งให้อาจารย์ เก็บไว้อ่านเตรียมสอบ

มีงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับรังสีดวงอาทิตย์ ดูรายละเอียดใน Assignment 3 ให้ทำงานเป็นกลุ่มเช่นเดิม ทำต่อจาก Assignment 1 ส่งพร้อมกัน

รายชื่อกลุ่มทำงาน Assignment 1 ล่าสุด

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บรรยากาศของโลก


สัปดาห์นี้เราจะเรียนกันเรื่องบรรยากาศของโลก ชั้นต่่างๆ ของบรรยากาศ องค์ประกอบของบรรยากาศ และความสำคัญของบรรยากาศต่อสิ่งมีชีวิต ก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) และภาวะโลกร้อน (global warming)

มีงานที่ให้ทำคือค้นคว้าเพิ่มเติมในเรื่องก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน (Assignment 2)

จากงานที่ให้ทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ได้รับรายชื่อกลุ่มทำรายงานภูมิอากาศของจังหวัดต่างๆ มาบ้างแล้ว กลุ่มที่ยังไม่ได้ส่งโปรดรีบส่งอีเมล์ให้อาจารย์

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อุตุนิยมวิทยาเบื้องต้ัน


สัปดาห์นี้ถือได้ว่าเป็นการทบทวนความรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยาที่เคยเรียนมาตั้งแต่ชั้นมัธยม มีการบ้านให้ทำ โปรดดู Assignment 1 ทางขวามือของหน้านี้ ทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 4 คน ทำรายงานเป็น PowerPoint นำเสนอในช่วงชั่วโมงปฏิบัติ กลุ่มละประมาณ 15 นาที ขอใ้ห้แต่ละกลุ่มส่งอีเมล์ รายชื่อสมาชิกและชื่อจังหวัดที่ทำรายงานให้อาจารย์ภายใน
วันที่ 19 พย. นี้

อ.ประพฤติจะมาบรรยายให้รายละเอียดเพิ่มเติม รวมทั้งเรื่องการตรวจอากาศ การพยากรณ์อากาศ และงาน อื่นๆ ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในภายหลัง

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขอต้อนรับนิสิต ภาคปลาย 2553


ขอต้อนรับสู่วิชาอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร ภาคปลายปีการศึกษา 2553 ในเทอมนี้ อ.ณัฐพล ลาไปศึกษาต่อจึงเหลือแค่อ.พงษ์ศักดิ์ และ อ.ประพฤติ เป็นผู้บรรยาย โปรดดูตารางการสอนใน ประมวลรายวิชา และอ่านเอกสารประกอบการสอนและการบรรยายได้จากลิ้งค์ด้านขวามือ

หวังว่านิสิตจะตั้งใจศึกษาและรับผลประโยชน์จากวิชานี้ไปใช้ในอนาคต

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สอบปลายภาค


สอบปลายภาค ส่วนที่สอนโดยอ.ประพฤติและ อ.พงษ์ศักดิ์
วันอังคารที่ 16 กพ 53 8.00-9.30 น.

ดูงานสถานีอุตุฯ

อาจารย์ประพฤติจะพานิสิตไปดูงานสถานีอุตุนิยมวิทยาพิษณุโลก วันอังคารที่ 9 กพ 53 นัดขึ้นรถหลังตึกคณะ 8.00 น.