วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

รังสีจากดวงอาทิตย์


สัปดาห์ที่แล้วเราศึกษาเรื่องบรรยากาศของโลกซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต และเป็นส่วนที่มีปรากฏการณ์ต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา เราได้เรียนรู้องค์ประกอบต่างๆ ของบรรยากาศ และความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ เราได้เห็นว่าไอน้ำในบรรยากาศ ถึงแม้จะมีได้ไม่เกินสี่เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าก๊าซเรือนกระจกและความสำคัญของมันต่อการเกิดภาวะโลกร้อน

อย่าลืมทำการบ้าน (Assignment 1 - 2) ในลิ้งค์ทางขวามือ และค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่อาจารย์บอกในสัปดาห์ที่แล้ว

สัปดาห์นี้เราจะเรียนเรื่องพลังงานที่ขับเคลื่อนปรากฏการณ์ต่างๆ รวมถึงขับเคลื่อนชีวิตของพวกเรา นั่นคือพลังงานจากดวงอาทิตย์ (ภาพประกอบจากนิทานเรื่องพระอาทิตย์กับลมพายุ)

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บรรยากาศโลก


ก่อนที่เราจะศึกษาเรื่องกระบวนการต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา เราต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบรรยากาศเป็นพื้นฐานก่อน สัปดาห์นี้เราจะศึกษาเรื่องบรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องโครงสร้างและส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญ

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ขอต้อนรับนิสิตภาคปลาย 2551


อาจารย์ขอต้อนรับนิสิตทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร ขอให้นิสิตเข้ามาอ่านบล็อกนี้เป็นประจำเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย เอกสารอ่านเพิ่มเติม การเปลี่ยนแปลงและข่าวสารเพิ่มเติมต่างๆ

ตามตารางสอนในหลักสูตรเรามีการเรียนภาคบรรยายสองชั่วโมงในวันพุธ 16.00-18.00 น. และภาคปฏิบัติสามชั่วโมงในวันพฤหัส 16.00-19.00 น. แต่เนื่องจากมีนิสิตเลือกลงเรียนเป็นจำนวนมากทำให้ไม่สะดวกที่จะมีภาคปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นบรรยาย 3 ชั่วโมง และมีงานมอบหมายให้นิสิตไปค้นคว้าและส่งเป็นรายงานแทนภาคปฏิบัติ

การประเมินผลการเรียนประกอบด้วย
สอบกลางภาค 30%
สอบปลายภาค 30%
รายงาน 30%
การเข้าเรียน 10%

สำหรับวันพุธแรก (15 ต.ค.) นี้ อาจารย์ไม่สามารถมาสอนได้จึงต้องของดและเลื่อนเป็นวันพฤหัสแทน