วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ลม ความปั่นป่วนของอากาศ และการส่งผ่านในอากาศ

สัปดาห์นี้เรียนเรื่องลม ความเร็วลมเหนือพื้นดิน boundary layer ความปั่นป่วนของอากาศ และการส่งผ่านมวล โมเมนตั้มและความร้อนในอากาศ

Assignment 4
เขียนกร๊าฟความเร็วลมที่ระดับต่างๆ เหนือพื้นดินจากข้อมูลใน http://pyuhun.googlepages.com/Ag-Met-Exercise-WindProfile.pdf
ประมาณค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่กำหนด

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

อุณหภูมิ (temperature) ความชื้น (humidity) และเสถียรภาพของบรรยากาศ (Atmospheric Stability)

สัปดาห์นี้เราเรียนเกี่ยวกับเสถียรภาพของบรรยากาศ (Atmospheric Stability)

วันศุกร์งดเรียนเนื่องจากอาจารย์ต้องไปราชการต่างจังหวัด


Assignment 3
เขียนกร๊าฟแสดงอุณหภูมิที่ระดับต่างๆ เปรียบเทียบกับ Dry Adiabatic Lapse Rate และ Wet Adiabatic Lapse Rate อธิบายเสถึยรภาพของอากาศขณะนั้น
ดาวน์โหลดข้อมูลและกระดาษกร๊าฟ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

รังสีจากดวงอาทิตย์


สัปดาห์นี้จเรียนเรื่องรังสีจากดวงอาทิตย์

อ่านเพิ่มเติม

UV และ โอโซน ใน http://ozone.tmd.go.th/

ศึกษารังสีดวงอาทิตย์ของประเทศไทยจาก http://www2.dede.go.th/renew/sola/mapmenu.html

Assignment 2

จากข้อมูล Solar Radiation ในไฟล์

http://pyuhun.googlepages.com/ag-met-solar-rad-thai.xls

เขียนกร๊าฟของพลังงานรังสีจากด้วงอาทิตย์ในเดือนต่างๆ ของจังหวัดที่เลือกทำใน Assignment แรก ถ้าไม่มีจังหวัดที่ต้องการให้ใช้จังหวัดที่ใกล้ที่สุดในไฟล์

คำนวณปริมาณพลังงานรังสีทั้งหมดที่ได้รับในหนึ่งปี
ถ้า 1 กรัมของชีวมวลแห้งสันดาปได้พลังงาน 17 kilojoules
พลังงานรังสีที่ได้รับในหนึ่งปีจะเปลี่ยนเป็นชีวมวลแห้งได้กี่กิโลกรัมต่อไร่
ถ้าผลผลิตมวลแห้งของพืชชนิดหนึ่งเท่ากับ 10 ตันต่อไร่ พืชมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์เป็นมวลแห้งกี่เปอร์เซนต์

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

บรรยากาศของโลก



สัปดาห์นี้เราจะเรียนเรื่องบรรยากาศของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนประกอบของบรรยากาศ และความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนพื่นผิวโลก

ค้นคว้าเพิ่มเติม
•ทำไมปัจจุบันเราจึงต้องกังวลในเรื่องภาวะโลกร้อน อะไรเป็นสาเหตุ และเราจะมีทางแก้ไขอย่างไร
•พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) คืออะไร กระทำขึ้นเมื่อไร มีใครลงนาม ไม่ได้ลงนาม
•การประชุมผู้นำนานาชาติเรื่องภาวะโลกร้อนครั้งล่าสุดกระทำที่ไหน มีข้อสรุปอย่างไร

  • อ่านบทความเรื่องโอโซน ก๊าซเรือนกระจก และรังสีอุลตร้าไวโอเล็ทใน http://ozone.tmd.go.th/

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Assignment 1

ภูมิอากาศของจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย

เลือกจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่สนใจ ค้นหาข้อมูลภูมิอากาศ เขียนตารางและกร้าฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่อไปนี้ในรอบปี

  1. ปริมาณน้ำฝน
  2. อุณหภมิ (สูงสุด ต่ำสุด และ เฉลี่ย)
  3. ความชื้นสัมพัทธ์
  4. ความเร็วลม
โดยใช้ค่าเฉลี่ยจากหลายปี
อธิบายภูมิอากาศของจังหวัดดังกล่าวจากข้อมูลที่ได้
และค้นหาว่าจังหวัดนั้นมีการเกษตรอะไรบ้างที่สำคัญ อธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นในแง่ของความเหมาะสมกับภูมิอากาศ

ขอต้อนรับนิสิตภาคการศึกษาที่ 2


อาจารย์หวังว่านิสิตที่เรียนวิชานี้จะได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ นำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาและการงานในอนาคตได้