สวัสดีทุกคน
หลังจากไม่ได้เจอกัน1 อาทิตย์เนื่องจากติดราชการด่วนก็กลับมาเรียนเรื่องเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของโลก เราก็ยังได้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารทางด้านสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมทั้งยังได้มี quizz ท้ายคาบอีกด้วย และนิสิตก็คงได้ทราบแล้วว่าผลของการมาเซ็นต์ชื่อแล้วออกก่อนจะเป็นเ่ช่นไร ในคาบต่อไปเราจะได้ศึกษาเรื่องการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ครับ อย่าลืมติดตามข่าวสารมาเล่าให้เพื่อนๆฟังด้วยนะครับ
อ.นัฐพล
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
Microclimate and Micrometeorology
สัปดาห์นี้ อ. ณัฐพล ติดราชการอื่นด่วน ไม่สามารถมาสอนได้ อ.พงษ์ศักดิ์เข้าสอนแทนในหัวข้อ Microclimate and Micrometeorolgy for Agriculture. โดยบรรยายถึงสภาพอากาศในบริเวณเล็กๆ เช่นในแปลงพืช รอบต้นพืชหรือสัตว์ และแม้แต่รอบๆ ใบพืช และตามด้วยเรื่องอิทธิพลของแสง และอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช รวมถึง photoperiodism และ thermoperiodism เรื่องสุดท้ายคือเรื่องการใช้น้ำของพืช potential evaporation, potential evapotranspiration, actual evapotranspiration, effective rainfalls and irrigation etc.
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันแรกของการเรียนความรู้อุตุนิยมวิทยา ฯ 10 พ.ย. 2552
วันแรกของการเรียนความรู้อุตุนิยมวิทยา ฯ 10 พ.ย. 2552
สวัสดีนิสิตทุกท่านวัน แรกของการเรียนเราก็ได้รู้ในหลายเรื่องเลยนะครับ อาจทำให้มึนๆกันบ้างแต่เดี๋ยวก็น่าจะปรับตัวได้ เรื่องที่ได้เรียน ประวัติและแนวคิดภูมิอากาศวิทยา ความเจริญทางเทคโนโลยีภูมิอากาศวิทยา ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ระบบภูมิอากาศ นอกจากนั้นพวกเรายังได้รับการกระตุ้นถามเรื่องภูมิศาสตร์โลกและประเทศไทย ด้วย เพราะถ้าพวกเราไม่มีความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ว่าอะไรอยู่ตรงไหน แล้วปรากฏการณ์ต่างๆเกิดได้อย่างไร พวกเราก็จะเข้าใจได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นผมจึงต้องเพิ่มกิจกรรมแทรกเข้าไปในชั้นเรียน ซึ่งในคาบแรกนี้เราก็ได้มีกิจกรรม และงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกันคือ
1.โดยมีการทำกิจกรรมการตอบคำถามประกอบ และผมยังได้ฝากพวกเราทำรายงานเรื่องอุตุนิยมวิทยา โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน
2.โดย มีกำหนดส่งก่อนสอบกลางภาค ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาเพราะเพียงแค่ 10 หน้าเนื้อหา(เน้นเนื้อหาที่ได้มาจากการสรุป และภาษาที่ใช้ต้องเป็นการสรุปความ ห้ามลอกเวบไซต์มาส่ง)
3. นิสิตยังได้มีการสอบย่อย Quiz ตอนท้ายคาบอีกด้วยเพื่อเป็นการกระตุ้นและตรวจสอบว่านิสิตคนใดบ้างที่ตั้งใจเรียนและมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เรียน
4. ผมยังได้มอบหมายให้นิสิตไปติดตามข่าวสารด้านภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยา เพื่อนำมาเล่าให้กับเพื่อนๆฟัง โดยผมไม่ได้บอกว่าใครจะเป็นผู้ถูกเลือกให้มาเล่า ฉะนั้นทุกคนต้องไปทำการบ้านมาให้พร้อม ถ้ากลุ่มไหนโดนเลือก ทุกคนในกลุ่มก็ต้องช่วยกันเล่า และเสริม จะได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกันทุกคน
แล้ว เจอกันในวันอังคารที่ 17 เวลาเดิม ห้ามสาย เพราะมีการเช็คชื่อ ใครสายก็จะหักตามสัดส่วน เพื่อฝึกนิสัยการตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบ หวังว่าพวกเราคงเข้าใจนะครับ จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ :)
อ.นัฐพล
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ขอต้อนรับนิสิตภาคการศึกษาที่ 2
ขอต้อนรับนิสิตทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตรในภาคการศึกษานี้ หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เราจะเริ่มเรียนกันด้วยเรื่องภูมิอากาศเบื้องต้น รังสีจากดวงอาทิตย์ บรรยากาศโลกและอุณหภูมิ ต่อจากนั้นจะเป็นเรื่อง เสถียรภาพของบรรยากาศ เมฆ ฝน ลมและการส่งผ่านสิ่งต่างๆ ในอากาศ การวัดและเครื่องมือวัดทางอุตุนิยมวิทยา อิทธิพลของป้จจัยลมฟ้าอากาศต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ในการเกษตร การใช้ความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาในการวางแผนการเกษตร การเปลี่ยนแปลงสภาพลมฟ้าอากาศ เช่นปรากฏการณ์เอลนิโญและลานิญา ตลอดจนเรื่องภาวะโลกร้อน รวมทั้งเรื่องการทำฝนหลวง
นิสิตควรเข้ามาอ่านบล็อกนี้ทุกสัปดาห์เพื่อติดตามการสอนและการเปลี่ยนแปลงตลอดจนงานที่มอบหมายให้ทำ อีกทั้งสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสอนต่างๆ ได้จากบล็อกนี้
การเข้าฟังบรรยายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้นิสิตติดตามเรื่องราวและเข้าใจเนื้่อหาที่สอนได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีคะแนนการเข้าเรียนด้วย (สอบกลางภาค 30% สอบปลายภาค 30% รายงาน 30% การเข้าเรียน 10%)
เราจะเริ่มเรียนกันด้วยเรื่องภูมิอากาศเบื้องต้น รังสีจากดวงอาทิตย์ บรรยากาศโลกและอุณหภูมิ ต่อจากนั้นจะเป็นเรื่อง เสถียรภาพของบรรยากาศ เมฆ ฝน ลมและการส่งผ่านสิ่งต่างๆ ในอากาศ การวัดและเครื่องมือวัดทางอุตุนิยมวิทยา อิทธิพลของป้จจัยลมฟ้าอากาศต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ในการเกษตร การใช้ความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาในการวางแผนการเกษตร การเปลี่ยนแปลงสภาพลมฟ้าอากาศ เช่นปรากฏการณ์เอลนิโญและลานิญา ตลอดจนเรื่องภาวะโลกร้อน รวมทั้งเรื่องการทำฝนหลวง
นิสิตควรเข้ามาอ่านบล็อกนี้ทุกสัปดาห์เพื่อติดตามการสอนและการเปลี่ยนแปลงตลอดจนงานที่มอบหมายให้ทำ อีกทั้งสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสอนต่างๆ ได้จากบล็อกนี้
การเข้าฟังบรรยายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้นิสิตติดตามเรื่องราวและเข้าใจเนื้่อหาที่สอนได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีคะแนนการเข้าเรียนด้วย (สอบกลางภาค 30% สอบปลายภาค 30% รายงาน 30% การเข้าเรียน 10%)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)