วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันที่สองของอ.นัฐพล
หลังจากไม่ได้เจอกัน1 อาทิตย์เนื่องจากติดราชการด่วนก็กลับมาเรียนเรื่องเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของโลก เราก็ยังได้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารทางด้านสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมทั้งยังได้มี quizz ท้ายคาบอีกด้วย และนิสิตก็คงได้ทราบแล้วว่าผลของการมาเซ็นต์ชื่อแล้วออกก่อนจะเป็นเ่ช่นไร ในคาบต่อไปเราจะได้ศึกษาเรื่องการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ครับ อย่าลืมติดตามข่าวสารมาเล่าให้เพื่อนๆฟังด้วยนะครับ
อ.นัฐพล
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
Microclimate and Micrometeorology
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันแรกของการเรียนความรู้อุตุนิยมวิทยา ฯ 10 พ.ย. 2552
วันแรกของการเรียนความรู้อุตุนิยมวิทยา ฯ 10 พ.ย. 2552
สวัสดีนิสิตทุกท่านวัน แรกของการเรียนเราก็ได้รู้ในหลายเรื่องเลยนะครับ อาจทำให้มึนๆกันบ้างแต่เดี๋ยวก็น่าจะปรับตัวได้ เรื่องที่ได้เรียน ประวัติและแนวคิดภูมิอากาศวิทยา ความเจริญทางเทคโนโลยีภูมิอากาศวิทยา ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ระบบภูมิอากาศ นอกจากนั้นพวกเรายังได้รับการกระตุ้นถามเรื่องภูมิศาสตร์โลกและประเทศไทย ด้วย เพราะถ้าพวกเราไม่มีความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ว่าอะไรอยู่ตรงไหน แล้วปรากฏการณ์ต่างๆเกิดได้อย่างไร พวกเราก็จะเข้าใจได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นผมจึงต้องเพิ่มกิจกรรมแทรกเข้าไปในชั้นเรียน ซึ่งในคาบแรกนี้เราก็ได้มีกิจกรรม และงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกันคือ
1.โดยมีการทำกิจกรรมการตอบคำถามประกอบ และผมยังได้ฝากพวกเราทำรายงานเรื่องอุตุนิยมวิทยา โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน
2.โดย มีกำหนดส่งก่อนสอบกลางภาค ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาเพราะเพียงแค่ 10 หน้าเนื้อหา(เน้นเนื้อหาที่ได้มาจากการสรุป และภาษาที่ใช้ต้องเป็นการสรุปความ ห้ามลอกเวบไซต์มาส่ง)
3. นิสิตยังได้มีการสอบย่อย Quiz ตอนท้ายคาบอีกด้วยเพื่อเป็นการกระตุ้นและตรวจสอบว่านิสิตคนใดบ้างที่ตั้งใจเรียนและมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เรียน
4. ผมยังได้มอบหมายให้นิสิตไปติดตามข่าวสารด้านภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยา เพื่อนำมาเล่าให้กับเพื่อนๆฟัง โดยผมไม่ได้บอกว่าใครจะเป็นผู้ถูกเลือกให้มาเล่า ฉะนั้นทุกคนต้องไปทำการบ้านมาให้พร้อม ถ้ากลุ่มไหนโดนเลือก ทุกคนในกลุ่มก็ต้องช่วยกันเล่า และเสริม จะได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกันทุกคน
แล้ว เจอกันในวันอังคารที่ 17 เวลาเดิม ห้ามสาย เพราะมีการเช็คชื่อ ใครสายก็จะหักตามสัดส่วน เพื่อฝึกนิสัยการตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบ หวังว่าพวกเราคงเข้าใจนะครับ จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ :)
อ.นัฐพล
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ขอต้อนรับนิสิตภาคการศึกษาที่ 2
เราจะเริ่มเรียนกันด้วยเรื่องภูมิอากาศเบื้องต้น รังสีจากดวงอาทิตย์ บรรยากาศโลกและอุณหภูมิ ต่อจากนั้นจะเป็นเรื่อง เสถียรภาพของบรรยากาศ เมฆ ฝน ลมและการส่งผ่านสิ่งต่างๆ ในอากาศ การวัดและเครื่องมือวัดทางอุตุนิยมวิทยา อิทธิพลของป้จจัยลมฟ้าอากาศต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ในการเกษตร การใช้ความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาในการวางแผนการเกษตร การเปลี่ยนแปลงสภาพลมฟ้าอากาศ เช่นปรากฏการณ์เอลนิโญและลานิญา ตลอดจนเรื่องภาวะโลกร้อน รวมทั้งเรื่องการทำฝนหลวง
นิสิตควรเข้ามาอ่านบล็อกนี้ทุกสัปดาห์เพื่อติดตามการสอนและการเปลี่ยนแปลงตลอดจนงานที่มอบหมายให้ทำ อีกทั้งสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสอนต่างๆ ได้จากบล็อกนี้
การเข้าฟังบรรยายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้นิสิตติดตามเรื่องราวและเข้าใจเนื้่อหาที่สอนได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีคะแนนการเข้าเรียนด้วย (สอบกลางภาค 30% สอบปลายภาค 30% รายงาน 30% การเข้าเรียน 10%)
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
Assignments
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สอบปลายภาค
ข้อสอบแบบปรนัย 80 ข้อ เปิดตำราได้
ขอให้นิสิตไปสอบตรงเวลา ผู้ที่ไม่สามารถสอบเวลานี้ได้โปรดแจ้งให้อาจารย์ทราบโดยด่วน
ผู้ที่ยังไม่ได้ส่งงาน (4 ชิ้น) โปรดส่งภายในวันที่ 18 ก.พ. 52
อย่าลืมไปเยี่ยมชมสถานีอุตุนิยมวิทยาพิษณุโลกในวันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ อ.ประพฤติจะนำเข้าชม
Micrometeorology and Microclimate
นอกจากนี้เราทบทวนเรื่องการใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาในการผลิตทางการเกษตร
นิสิตใหม่วันนี้
วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
การสอน ในวันพุธที่ 21 มกราคม 2552
สมดุลของพลังงานและสมดุลของน้ำ (Energy Balance and Water Balance)
สมดุลของพลังงาน สมดุลของน้ำ ความสำคัญของสมดุลของพลังงานและน้ำต่อการเกษตร
http://www.lesa.in.th/5/balance_system/balance/balance.html
http://www.lesa.in.th/6/wind/wind/wind.html
http://www.lesa.in.th/7/cycle_water/cycle_water/cycle_water.html
การสอน ใวันนพุธที่ 14 มกราคม 2552
ศึกษาเรื่อง เมฆ และ น้ำฟ้า (Clouds and Precipitations)
น้ำฟ้าชนิดต่างๆ การเกิดเมฆและฝน ชนิดของเมฆ การกระจายของปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ต่างๆ ในช่วงเวลาต่างๆ อิทธิพลของน้ำฟ้าต่อการเกษตร
http://www.lesa.in.th/6/clouds/clouds_precip/clouds_precip.html
http://www.lesa.in.th/6/clouds/clouds_gallery/clouds_gallery.html
http://pyuhun.googlepages.com/ag-met-clouds.pdf
http://pyuhun.googlepages.com/ag-met-rain.pdf
ศึกษา การทำฝนเทียม (Artificial Rain Making) และฝนหลวง
หลักการทำฝนเทียม ปฏิบัติการฝนหลวงในประเทศไทย
http://www.royalrainmaking.thaigov.net/index1.php
การสอน ในวันพุธที่ 7 มกราคม 2552
แนะนำสถานีอุตุนิยมวิทยาสุโขทัย และอุปกรณ์ตรวจวัดทางอุตุนิยมวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับสถานีอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่เก็บบันทึก เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในสถานีอุตุนิยมวิทยา สถานีอุตุนิยมวิทยาและอุปกรณ์ทางอุตุนิยมวิทยามาตรฐาน สถานีอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุนิยมวิทยา ส่วนประกอบของสถานีอุตุนิยมวิทยา และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในสถานี ตามมาตรฐาน WMO
วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552
สำหรับ assignments (1-4)ที่อาจารย์พงษ์ศักดิ์ให้ทำนั้น ให้นิสิตทยอยส่งได้ที่ห้องโครงการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หรือใน locker ของอาจารย์หน้าห้องสำนักงานภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร ชั้นสองตึกคณะเกษตร