วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เสถียรภาพของบรรยากาศ


สัปดาห์นี้เรียนเรื่อง
ความชื้น อุณหภูมิ และความเสถียรของบรรยากาศ (Humidity, Temperature and Atmospheric Stability)

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Solar Radiation


สัปดาห์นี้เรียนเรื่องรังสีจากดวงอาทิตย์ กฎที่เกี่ยวกับการแผ่รังสีและพลังงานรังสี ส่วนประกอบของรังสีจากดวงอาทิตย์ การแผ่รังสีของโลก สมดุลของรังสี (radiation balance) พลังงานที่ถ่ายทอดไปขับเครื่องปรากฎการณ์ต่างๆ พลังงานที่ใช้ในการสังเคราะแสง พลังงานชีวมวลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สำคัญอย่างหนึ่งของเรา

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551

บรรยากาศของโลก (Earth's Atmosphere)

สัปดาห์นี้เราจะเรียนกันเรื่องบรรยากาศของโลก ส่วนประกอบที่สำคัญของบรรยากาศ ชั้นของบรรยากาศ ความสำคัญของส่วนประกอบต่อการเกิดปรากฎการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา และประเด็นสำคัญๆ ที่เรากำลังสนใจในปัจจุบัน เช่นภาวะโลกร้อน (พาวเวอร์พอยท์ที่อาจารย์ใช้ประกอบการสอนเรื่องนี้ได้รับการปรับปรุงใหม่แล้วในวันนี้)

นิสิตควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสภาพอากาศของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ตลอดจนการเกิดภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ควรค้นคว้าเพิ่มเติมในเรื่อง:

  • ภาวะโลกร้อน
  • ชั้นโอโซน
  • พิธีสารมอนทรีล
  • พิธีสารเกียวโต
  • คาร์บอนเครดิต
  • การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เปลี่ยนแปลงชั่วโมงเรียน

จากตารางสอนเดิม บรรยาย 2 ชั่วโมงในวันจันทร์ และปฏิบัติ 3 ชั่วโมงในวันพุธ
เปลี่ยนเป็น บรรยาย 3 ชั่วโมง (+ assignment) ในวันพุธ 16.00-19.00 น.
(งดเรียนวันจันทร์)

ในระหว่างภาคการศึกษานี้ เราจะไปดูงานที่สถานีอุตุนิยมวิทยาพิษณุโลก ซึ่งจะนัดหมายกันภายหลัง

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ขอต้อนรับนิสิตวิชาอุตุฯ.เกษตร เทอมต้น 2551


หวังว่านิสิตจะได้ความรู้และนำความรู้ในวิชานี้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป

สังเกตท้องฟ้าและเมฆยามเช้าในภาพ เมื่อเรียนวิชานี้แล้วนิสิตควรจะเข้าใจได้ว่าเป็นเมฆชนิดไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร

สัปดาห์นี้ เราจะทบทวนความรู้เกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา และภูมิอากาศเบื้องต้น